สาระสำคัญ
ภาพในงานกราฟิกจะเกิดจากองค์ประกอบต่างๆ ประกอบกัน ซึ่งจะมีความหมายที่สามารถสื่อถึงความรู้สึกและมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป นักออกแบบจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจ รู้จักที่จะเลือกใช้แต่ละองค์ประกอบให้สอดคล้องกับแนวคิดของงาน องค์ประกอบหลักๆ ในงานกราฟิกจะแบ่งเป็น 8 ชนิดคือ เส้น, รูปทรง, น้ำหนัก, พื้นผิว, ที่ว่าง, สี และตัวอักษร
สาระการเรียนรู้
- ทำความรู้จัก Graphic Design
- องค์ประกอบงานกราฟิก
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ง 2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบ และสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
ผลการเรียนรู้
- สามารถอธิบายความหมายของคำว่า Graphic Design ได้
- สามารถบอกถึงประโยชน์ของงานกราฟิกดีไซน์ได้
- สามารถอธิบายถึงคุณสมบัติของนักออกแบบกราฟิกดีไซน์ได้
- สามารถอธิบายขั้นตอนการเปิดใช้งานโปรแกรม SketchUp ได้
เรื่อง ทำความรู้จัก Graphic Design
กราฟฟิกดีไซน์ หรือ Graphic design คือ กระบวนการในการคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะบวกกับเครื่องมือด้านเทคโนโลยี ออกมาเป็นผลงานไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือข้อความ
ยกตัวอย่างของกราฟฟิกดีไซน์ อย่างเช่น ถ้าคุณต้องการที่จะประชาสัมพันธ์ ที่นอกเหนือจากการใช้การพูด เช่น เครื่องกระจายเสียง สื่อวิทยุ ก็จะเป็นรูปลักษณะที่มองเห็นได้และเป็นที่จดจำ อย่างเช่น โปสเตอร์ แผ่นผับ ปกอัลบั้ม ซึ่งเหตุผลหลักคือการผลิตสื่อที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายจดจำได้มากที่สุด
ประโยชน์ของกราฟฟิกดีไซน์
- ช่วยให้ข้อมูลมีระเบียบมากขึ้น
- สามารถถ่ายทอดข้อมูลได้ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย
- สื่อความหมายไปในทิศทางเดียวกัน
- เกิดภาพลักษณ์ที่ดี
ดังนั้น กราฟฟิกดีไซน์ จึงหมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่ง ที่ใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดผลงานให้เป็นที่เข้าใจและจดจำ ผ่านสื่อที่มองเห็นได้
คุณสมบัตินักออกแบบกราฟิก
งานกราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ใช้ ความสามารถเฉพาะตัวของนักออกแบบแต่ละคน บนพื้นฐานของหลักการทางศิลปะ แต่นอกเหนือจากความรู้ทางศิลปะแล้ว คนที่จะทำงานกราฟิกได้ดีจะต้องมีคุณสมบัติอะไรอีกบ้าง
- ขยันฝึกหัด คนที่จะมีความชำนวญในการใช้โปรแกรมต่าง ๆ จะต้องมีการฝึกหัดอย่างเป็นประจำ โดยอาจจะไม่ต้องเก่งหลายโปรแกรมก็ได้ เพียงให้รู้ลึกรู้จริงในโปรแกรมใดโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งก็สามารถหาเลี้ยงตัว เองได้แล้ว ทั้งนี้สามารถฝึกด้วยตนเอง 3 วิธี
1.1 ฝึกตามแบบ เป็นการฝึกตามหนังสือหรือบทความ เหมาะสำหรับการฝึกในระยะแรกเริ่ม เพราะเพียงแค่ลองทำตามเท่านั้น วิธีนี้ดี คือ ไม่ต้องคิดเอง ถือว่าเป็นก้าวแรกในการฝึกฝน เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป
1.2 ฝึกตั้งโจทย์ เป็นการฝึกตัวเองให้ลองทำอะไรใหม่ๆ ตั้งโจทย์ใหม่ ๆ โดยอาจเป็นการตั้งโจทย์จากเครื่องมือ เช่นกำหนดว่าวันนี้เราจะฝึกใช้เครื่องมืออะไร ก็ฝึกใช้เครื่องมือนั้นให้มาก ใช้เครื่องมืออื่นเพียงแค่เสริมเท่านั้นพอ การฝึกแบบนี้ทำให้เรามีเพื้นฐานแน่น และรู้ลึกในเครื่องมือแต่ละชิ้น หรือจะฝึกตั้งโจทย์จากภาพก็ได้ โดยเลือกภาพขึ้นมาภาพหนึ่ง แล้วลองฝึกแต่งภาพนั้นแบบฟรีสไตล์ตามแต่จินตนาการของคุณ เมื่อฝึกด้วยวิธีนี้บ่อย ๆ คุณจะคิดได้รวดเร็วขึ้น และสามารถมององค์ประกอบของภาพได้ดีขึ้น อีกวิธีหนึ่งคือตั้งโจทย์สมมติ สมมติว่าลูกค้าให้โจทย์คุณมา เช่น ทำโปสเตอร์รณรงค์ให้คนไทยรักกัน หรือ ออกแบบแพ็กเกจปลาสลิดตากแห้ง เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยให้คุณ เชื่อมต่อระหว่างศิลปะและธุรกิจได้ดีขึ้น
1.3 ฝึกเลียนแบบ เป็นการฝึกโดยทำภาพเลียนแบบงานของคนอื่นให้เหมือนที่สุด โดยใช้คนละเทคนิค หรือคนละโปรแกรมกับต้นแบบ แต่ต้องให้ได้ภาพออกมา เหมือนกัน เหมือนได้ผลลัพธ์อย่างเดียวกัน วิธีนี้ยากขึ้นกว่า 2 วิธีแรก คุณจะต้องมีความรู้ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ก่อน จากนั้นจึงวิเคราะห์ ประยุกต์ และดัดแปลงด้วยตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ การสร้างงานที่แตกต่าง แปลกใหม่ และโดดเด่น จะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในงานศิลปะ จะสื่อสารอย่างไรให้ สะดุดตา สะดุดใจ ก็ต้องคิดริเริ่มทำขึ้นมา โดยอาจหาแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบ ๆ ตัว หรือออกไปเปิดหูเปิดตาภายนอก เพื่อหาไอเดียใหม่ ๆ อย่างเช่น การดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ท่องเที่ยว เป็นต้น
- เซ็ทค่าเอาท์พุตให้สวย บางคนทำงานที่เครื่องของตัวเอง เซ็ทค่าสีไว้เสียสวยงาม แต่เวลาพิมพ์ออกมา หรือแสดงผลบนเครื่องของคนอื่นกลับไม่เหมือนอย่างที่ทำไว้ คนทำกราฟิกจึงต้องมีความรู้เรื่องการเซ็ทค่าเอาท์พุตให้สามารถแสดงสีออกมา ได้สวยงามเช่นเดียวกับที่เห็นหน้าจอมอนิเตอร์ สำหรับคนที่ทำงานทางด้านเว็บ คุณอาจจะไม่ต้องระวังเรื่องสีมากนัก แต่ต้องระวังเรื่องของ Browser เนื่องจาก Browser ต่างค่ายก็จะแสดงผลที่แตกต่างกัน สำหรับคนที่ทำงานทางด้าน Multimedia Presentation คุณต้องคำนึงถึงคุณภาพของโปรเจ็กเตอร์ ว่าแสดงสีเป็นอย่างไร ต้องมีการทดลองกับโปรเจ็กเตอร์จริง ๆ ก่อน หรือแม้แต่การเอาท์พุต ออกทางทีวีก็ตาม สีที่มองเห็นที่หน้าจอโทรทัศน์ ย่อมแตกต่าง จากสีในจอมอนิเตอร์ของคุณแน่นอน
- สนใจความเป็นไปรอบตัว การเป็นคนทันยุค ทันเหตุการณ์จะช่วยให้คุณสามารถเสริมลูกเล่นต่าง ๆ เข้าไปในงานของคุณ ทำให้งานของคุณดูทันสมัย แตกต่างจากคนอื่นในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ทำให้คุณกลายเป็นดาวเด่นในพริบตาก็ได้
5.กล้าที่จะลอง เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเรา จึงไม่อาจยึดติดอยู่กับเครื่องมือเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย การลองใช้ Software ใหม่ ๆ ที่มีการ Update อยู่เสมอจะทำให้เราได้ใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์ หากล้วนแล้วแต่มาจากพรแสวงที่ทุกคนต้องขวนขวายมาเป็นอาวุธติดกาย เพื่อใช้ในการทำงานและพัฒนาผลงานกราฟิกของตนเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป